ระบบควบคุมการทำงานของเบาะลมและเฝ้าระวังตำแหน่งเพื่อผู้ป่วยแผลกดทับ
ระบบควบคุมการทำงานของเบาะลมและเฝ้าระวังตำแหน่งเพื่อผู้ป่วยแผลกดทับ ปีการศึกษา 2553
อาจารย์ที่ปรึกษา:
ผศ.ดร.ภาณุทัต บุญประมุข
ผู้จัดทำ:
นางสาวรัชประภา วงศ์นาคพันธ์
นายโกวิทย์ วงษ์ตระกูล
เกี่ยวกับโครงาน:
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้หรือเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่สูญเสียการรับรู้ความรู้สึก เมื่อผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย อาจส่งผลให้ผิวหนังและกล้ามเนื้อบางส่วนที่สัมผัสกับเตียงนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เกิดการอักเสบ จนถึงขั้นเนื้อตายเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ซึ่งหากทิ้งไว้โดยไม่มีการรักษา จะเกิดเป็นแผลและติดเชื้อได้ และแผลกดทับที่เป็นมากนั้น อาจกินลึกไปได้ถึงชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการรักษานาน แผลกดทับส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณที่มีการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ จากการขาดเลือดอันเป็นผลจากการถูกกดทับเป็นเวลานานๆ และมักจะเกิดบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่เหนือปุ่มกระดูกเช่น บริเวณก้นกบ ปุ่มกระดูกตรงบริเวณด้านข้างของสะโพก ส้นเท้า ตาตุ่ม เป็นต้น และในกรณีที่ผู้ป่วยนอนอยู่ในตำแหน่งเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย หากไม่มีการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็อาจจะทำให้เกิดความสูญเสียได้ ด้วยเหตุนี้ทางผู้จัดทำจึงได้เสนอให้มีการพัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมา โดยมีแนวคิดที่ว่าหากเรามีเตียงหรือเบาะลมที่ป้องกันและรักษาอาการที่เกิดจากแผลกดทับของผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และสามารถเฝ้าระวังตำแหน่งของผู้ป่วยบนเบาะลมไว้ในอุปกรณ์เดียวก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ป่วยและสถานพยาบาล
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปกิจกรรม
Back / ย้อนกลับ | update : 25/08/2554